องค์การบริหารส่วนตำบล เนินเพิ่ม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
               
หน้าหลัก

Home
ข้อมูลหน่วยงาน

General
บุคลากร

Staff
การบริหารบุคคล

Personnel
ข่าวสาร

News
แผน

Planning
รายงาน

Report
ระเบียบ

Rules
บริการประชาชน

Service
   
 
 
 


   
สถานบริการด้านสาธารณสุขในเขตตำบลเนินเพิ่ม
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเนินเพิ่ม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยตีนตั่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ่งตารอด
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
 
 
 


 


ชาวตำบลเนินเพิ่ม ได้รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ของตนไว้หลายอย่าง ซึ่งตนเลื่อมใสศรัทธา
ซึ่งมีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานโดยจำแนกได้ดังนี้

ประเพณีปักธงชัย คือ เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวนครไทยที่สำคัญซึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ตราบเท่าทุกวันนี้ ห่างจากตัวอำเภอนครไทยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีเทือกเขาหนึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ภูเขาช้างล้วง” จัดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ชาวบ้านจะพากันไปปักธงที่ ยอดเขา ฉันเพล, ย่านไฮและเขาช้างล้วง เป็นประเพณีประจำท้องถิ่น ของชาวนครไทยที่สำคัญซึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงทุกวันนี้

ประเพณีเลี้ยงปาง คือ จัดขึ้นในเดือน 4 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม) โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ และจะไม่ให้ตรงกับ วันแรม 8 ค่ำ,แรม 15 ค่ำ, ขึ้น 8 ค่ำ, ขึ้น 15 ค่ำ และเพื่อเป็นการเซ่นไหว้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ประกอบด้วย หมู่ที่ 2,3,4,8,9,11 และหมู่ที่ 14

ประเพณีเลี้ยงปู่ คือ จัดขึ้นในเดือน 3 หรือ เดือน 6 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หรือ เดือนพฤษภาคม) โดยจัดปีละ 2 ครั้ง เป็นพิธีเซ่นไว้วิญญาณบรรพบุรุษที่ปกปักรักษาบ้านเมืองและลูกหลาน มิให้เกิดเพศภัย สิ่งที่ไม่ดี ประกอบด้วย หมู่ที่ 1,3,6,14 และหมู่ที่ 19

ประเพณีบุญปราสาทผึ้ง หรือบุญออกพรรษา คือ จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ประกอบด้วยหมู่ที่ 1,5,7,12,13 และหมู่ที่ 17

ประเพณีเข้าพรรษา คือ จัดตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้งก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล

ประเพณีปีใหม่ม้ง คือ จัดขึ้นตรงกับ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ระหว่างเดือนธันวาคม - มกราคมของทุกปี ซึ่งในวันปีใหม่นี้ เป็นประเพณีการพบปะกันระหว่างกลุ่มญาติ เป็นการเฉลิมฉลองหลังฤดูการเก็บเกี่ยว จะมีการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส ประกอบด้วย หมู่ที่ 10,15 และหมู่ที่ 16

ประเพณีบุญข้าวเปลือก คือ จัดขึ้นตรงกับเดือน 3 หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว แต่ละบ้านจะนำข้าวเปลือกมาถวายวัด โดยพระสงฆ์จะทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ อนุโมทนาบุญเป็นสิ่งตอบแทน

ประเพณีงานบุญกลางบ้าน คือ จัดขึ้นในระหว่างเดือน 3 - 6 เป็นประเพณีงานบุญที่เชื่อกันว่า เป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้าย หรือสิ่งที่ไม่ดี ให้ออกไปจากหมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,11,12,13,14,17,18 และหมู่ที่19

ประเพณีเลี้ยงหอบ้าน คือ จัดขึ้นตรงกับเดือน 7 ขึ้น 8 ค่ำ เป็นประเพณีที่เชื่อกันว่า ในท้องถิ่นของตนอาศัยอยู่มีวิญญาณของผีปู่ตา เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษที่ยังมีความรัก ความผูกพัน ความห่วงใย คอยปกปักรักษา ดูแลบุตรหลานอยู่เสมอ ชาวบ้านหมู่ที่ 1 บ้านห้วยตีนตั่ง ตำบลเนินเพิ่ม จึงพร้อมใจกันจัดหาที่พักและเลี้ยงดู เพื่อตอบสนองในพระคุณของบรรพบุรุษ

ประเพณีกินข้าวใหม่ม้ง คือ ใหม่ม้ง ในช่วงข้าวใหม่ออกผลผลิต ปลายฝนต้นหนาว ปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม ของทุกปี ประกอบด้วยหมู่ที่ 10,15 และหมู่ที่ 16

ประเพณีวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ คือ เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของ ความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็น ถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี ปัจจุบันสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13,14,และ15 เมษายนของทุกปี

ประเพณีลอยกระทง คือ ป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ
   
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทย มาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธี ที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธี ของศาสนาพราหมณ์

เครื่องจักสาน หัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้ต่าง ๆ อาศัยวิธีการฝึกหัด
และบอกเล่า

การแทงหยวก คือ การนำเอากาบกล้วยมาทำให้เป็นลวดลายต่างๆโดยวิธีแทงด้วยมีดเเทงหยวกใช้สำหรับ การประดับตกเเต่งที่เป็นงานชั่วคราว เช่น ประดับแลแห่นาค ประดับแลแห่งานประเพณีปักธงชัย เป็นต้น
   
ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นเป็นภาษาเดียวกันกับภาษาไทย เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำและสำเนียง แสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ แต่มีลักษณะบางอย่างแตกต่างผิดเพี้ยนไปจากภาษากลาง และความแตกต่างภาษานครไทย เช่น คำว่า รัก = มัก คำว่า เรือน = เฮือน คำว่า ร้อน = ฮ้อน เป็นต้น และภาษาม้ง อยู่ในตระกูลแม้ว-เย้า เช่น คำว่า กู้เหนียก้อ = ฉันรักเธอ คำว่า มูตื่อหลอ = ไปไหนมา คำว่า น้อหมอหล่อจี่เตา = กินเข้าหรือยัง เป็นต้น
   
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกที่โดดเด่น คือ
 

วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านห้วยน้ำไซ หมู่ที่ 16 ผลิตข้าวเหนียวดำจำหน่าย

วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลเนินเพิ่มผลิตข้าวหอมมะลิจำหน่าย

กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า หมู่ที่ 12 ผลิตไม้กวาดจำหน่าย
 
 
 
 
 
 
 
สายตรงนายก
084-363-4693
รับเรื่องราวร้องเรียน
ร้องทุกข์จากประชาชน
 
  จำนวนผู้เข้าชม 9,472,856 เริ่มนับ 14 ก.ย. 2560 จัดทำโดย : NAXsolution.com  
  นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10