ลักษณะของแหล่งน้ำ |
แหล่งน้ำที่สำคัญในเขตตำบลเนินเพิ่มมีทั้งแหล่งน้ำผิวดินซึ่งได้แก่ แม่น้ำ ลำห้วย หนอง กุด
(หมายถึง คลองหรือบริเวณที่มีน้ำ
ล้อมรอบ) แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เขตตำบลเนินเพิ่มมีแม่น้ำธรรมชาติพอที่จะให้ประชาชน
ได้ใช้บริโภคและใช้สอยหลายสายด้วยกัน ก็มีแม่น้ำ เช่น แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำออมสิงห์ แม่น้ำขมึน แม่น้ำเฟีย เป็นต้น |
|
ลักษณะของป่าไม้ |
พื้นที่ป่าปกคลุมไปด้วยป่าไม้ จำนวน 3 ชนิด จำแนกได้ดังนี้ |
|

 |
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์
และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ |
|

 |
ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ
พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่าง ๆ |
|

 |
ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ
บางแห่งอยู่รวมกัน
เป็นป่าสนกว้างใหญ่ |
|
|
ลักษณะของภูเขา |
ลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล
ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาคือภูลมโล โดยสูงประมาณ 1,664 เมตร
จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย
เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่ |
|
ลักษณะของดินทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน ลักษณะดิน โดยทั่วไปในตำบลเนินเพิ่ม จำแนกได้ดังนี้ |
|

 |
ดินเหนียวและดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดี เนื้อดินปนหยาบและมีเนื้อดินละเอียดหรือ
หยาบปานกลางอยู่ในชั้นดินล่าง ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ภายในเขตที่ราบของหุบเขา |
|

 |
ดินที่มีหินปูนและเป็นดินตื้น พบกระจายอยู่ในตำบลเนินเพิ่ม |
|

 |
ดินที่เกิดตามที่สูงชัน เป็นดินตื้นที่มีหินปูนอยู่มาก พบกระจายทั่วไปตามเขตภูเขาสูงและ ที่ราบสูงโดยเป็นหินที่มีป่าไม้ปกคลุม |
|